4. การเขียนสูตรและการเรียกชื่อสารประกอบโคเวเลนต์

4.1 การเขียนสูตรสารประกอบโคเวเลนต์ (Formula of Covalent Compounds)
4.1.1 สูตรโมเลกุล
1. เขียนสัญลักษณ์ของธาตุที่เป็นองค์ประกอบเรียงตามลำดับของธาตุ และค่าอิเล็กโทรเนกาติวิตี ตามหลักสากล  ดังนี้ คือ B, Si, C, Sb, As, P, N, H, Te, Se, S, At, I, Br, Cl, O, F ตามลำดับ
          2. ในสารประกอบโคเวเลนต์ ถ้าอะตอมของธาตุมีจำนวนอะตอมมากกว่าหนึ่งให้เขียนจำนวนอะตอมด้วยตัวเลขแสดงไว้มุมล่างทางขวา ในกรณีที่ธาตุในสารประกอบนั้นมีเพียงอะตอมเดียวไม่ต้องเขียนตัวเลขแสดงจำนวนอะตอม
4.1.2 สูตรโครงสร้าง
สูตรที่แสดงให้ทราบว่า 1 โมเลกุลของสารประกอบด้วยธาตุใดบ้าง อย่างละกี่อะตอม และอะตอมของธาตุเหล่านั้นมีการจัดเรียงตัวหรือเกาะเกี่ยวกันด้วยพันธะอย่างไร ซึ่งแบบเป็น 2 แบบคือ
1.  สูตรโครงสร้างแบบจุด คือสูตรโครงสร้างที่แสดงถึงการจัดอิเล็กตรอนวงนอกสุดให้ครบออกเตตในสารประกอบนั้น โดยใช้จุด ( . ) แทนอิเล็กตรอน 1 ตัว
2.  สูตรโครงสร้างแบบเส้น คือสูตรโครงสร้างที่แสดงถึงพันธะเคมีในสารประกอบนั้นว่าพันธะใดบ้าง โดยใช้เส้น ( - ) แทนพันธะเคมี เส้น 1 เส้น แทนอิเล็กตรอนที่ใช้ร่วมกัน 1 คู่

     4.2 การเรียกชื่อสารประกอบโคเวเลนต์ (Names of Covalent Compounds)
1.  อ่านชื่อธาตุที่อยู่ด้านหน้าก่อนตามด้วยธาตุที่อยู่ด้านหลัง โดยเปลี่ยนเสียงพยางค์ท้ายเป็น -ด์ (ide )
2.  อ่านระบุจำนวนอะตอมของธาตุด้วยเลขจำนวนในภาษากรีก ได้แก่
1     =      mono-                   2     =     di-                     3     =     tri-
4     =     tetra-                      5     =     penta-               6     =     hexa-
7     =     octa-                       8     =     nona-                9     =     deca-
3.  ถ้าธาตุแรกมีอะตอมเดียว ไม่ต้องอ่านระบุจำนวนอะตอมของธาตุนั้น  แต่ถ้าธาตุหลังมีเพียงหนึ่งอะตอมก็ต้องระบุจำนวนอะตอมด้วยเสมอ

ตัวอย่างการอ่านชื่อ
 
CO2     อ่านว่า คาร์บอนไดออกไซด์,            CO     อ่านว่า คาร์บอนมอนออกไซด์,
BF3      อ่านว่า โบรอนไตรฟลูออไรด์,           N2O    อ่านว่า ไดไนโตรเจนมอนอกไซด์,
N2O5    อ่านว่า ไดไนโตรเจนเพนตอกไซด์,      P4O10  อ่านว่า เตตระฟอสฟอรัสเดคะออกไซด์
OF2     อ่านว่า ออกซิเจนไดฟลูออไรด์,          CCl4   อ่านว่า คาร์บอนเตตระคลอไรด์