การเปลี่ยนสถานะของสารต้องมีการให้ความร้อนแก่สาร
เพื่อให้อนุภาคของสารมีพลังงานจลน์สูงพอที่จะหลุดออกจากกัน
การเปลี่ยนสถานะของสารโคเวเลนต์
มีการทำลายแรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลเท่านั้น ไม่มีการทำลายพันธะเคมี ดังนั้น
สารที่มีจุดเดือดจุดหลอมเหลวสูง แสดงว่าแรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลสูง
11.1 ประเภทของแรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลโคเวเลนต์
(Intermolecular Forces)
1)
แรงลอนดอน
( london foece ) เป็นแรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุล
ยึดเหนี่ยวกันด้วยแรงอ่อนๆ ซึ่งเกิดขึ้นในสารทั่วไปและจะมีค่าเพิ่มขึ้นตามมวลโมเลกุลของสาร
2)
แรงดึงดูดระหว่างขั้ว
(dipole – dipole force) เป็นแรงดึงดูดทางไฟฟ้าอันเนื่องมาจากแรงกระทำระหว่างขั้วบวกกับขั้วลบของโมเลกุลที่มีขั้ว
11.2
พันธะไฮโดรเจน (hydrogen
bond , H – bond)
พันธะไฮโดรเจน คือ แรงดึงดูดระหว่างโมเลกุลที่เกิดจากไฮโดรเจนอะตอมสร้างพันธะโคเวเลนต์กับอะตอมที่มีค่าอิเล็กโทรเนกาติวิตีสูง
ๆ และมีขนาดเล็ก ได้แก่ F, O และ N แล้วเกิดพันธะโคเวเลนต์มีขั้วชนิดมีสภาพขั้วแรงมาก
ทั้งนี้เนื่องจากพันธะที่เกิดขึ้นนี้อิเล็กตรอนคู่ร่วมพันธะจะถูกดึงเข้ามาใกล้อะตอมของธาตุที่มีค่าอิเล็กโทรเนกาติวิตีสูงมากกว่าทางด้านอะตอมของไฮโดรเจนมาก
และอะตอมของธาตุที่มีค่าอิเล็กโทรเนกาติวิตีสูง ยังมีอิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยว จึงเกิดดึงดูดกันระหว่างอิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยวกับอะตอมของไฮโดรเจนชึ่งมีอำนาจไฟฟ้าบวกสูงของอีกโมเลกุลหนึ่ง
ทำให้เกิดเป็น พันธะไฮโดรเจน