พลังงานพันธะ
เป็นพลังงานปริมาณน้อยที่สุดที่ใช้เพื่อสลายพันธะระหว่างอะตอมภายในโมเลกุลที่อยู่ภายในสถานะแก๊สให้เป็นอะตอมเดี่ยวในสถานะแก๊ส
เช่น การทำให้โมเลกุลของแก๊สไฮโดรเจนกลายเป็นไฮโดรเจนอะตอมจะต้องใช้พลังงานอย่างน้อยที่สุด
436 กิโลจูลต่อโมล ดังนี้
H2 (g) + 436
kJ → 2H (g)
สำหรับโมเลกุลที่ประกอบด้วยอะตอมมากกว่าสองอะตอมจะมีพันธะในโมเลกุลมากกว่าหนึ่งพันธะ
การทำให้โมเลกุลสลายเป็นอะตอมเดี่ยวจึงต้องใช้พลังงานสูงเพื่อสลายพันธะจำนวนหลายพันธะ
เช่นการสลายพันธะ C-H
ในโมเลกุลของมีเทน (CH4)
ใช้พลังงาน ดังนี้
CH4 (g) + 435 kJ → CH3 (g) + H (g)
CH3
(g) + 453 kJ → CH2 (g) + H (g)
CH2
(g) + 425 kJ → CH
(g) + H (g)
CH (g) + 339 kJ → C
(g) + H (g)
การสลายพันธะ
C-H
ในโมเลกุลมีเทนแต่ละพันธะใช้พลังงานไม่เท่ากัน
ดังนั้นเมื่อกล่าวถึงพลังงานพันธะใดจึงหมายถึง “พลังงานพันธะเฉลี่ย”
ตารางที่ 3 แสดงพลังงานพันธะเฉลี่ย
(ในหน่วย kJ/mol) ระหว่างอะตอมคู่ต่างๆ
|
สรุปความยาวพันธะและพลังงานพันธะ
ความยาวพันธะ
หมายถึง ระยะระหว่างจุดศูนย์กลางของนิวเคลียสของอะตอมทั้งสองที่เกิดพันธะกัน
(หน่วยเป็น Angstrom,
10-10 m , A ) ถ้าความยาวพันธะยิ่งสั้น
พลังงานพันธะก็จะยิ่งมาก หรือพันธะนั้นเสถียรภาพหรือแข็งแรงมาก
สำหรับพันธะชนิดเดียวกัน พันธะเดี่ยวจะมีความยาวพันธะมากที่สุด
ความยาวพันธะและพลังงานพันธะจะเปรียบเทียบกันได้ก็ต่อเมื่อเป็นพันธะที่เกิดจากอะตอมของธาตุคู่เดียวกัน
ถ้าเป็นอะตอมต่างคู่กันเทียบกันไม่ได้