เรโซแนนซ์
คือ
ปรากฏการณ์ที่สารใดสารหนึ่งเขียนสูตรที่ถูกต้องได้หลายแบบ
เนื่องจากพันธะคู่เคลื่อนที่ได้ เช่น โมเลกุลโอโซน (O3) เกิดพันธะระหว่างอะตอมของออกซิเจนกับออกซิเจนอีก
2 อะตอม ตามกฎออกเตต เขียนแสดงได้ดังนี้
จากโครงสร้างแบบลิวอิสทั้งสองนี้แสดงว่าออกซิเจนอะตอมกลางสร้างพันธะเดี่ยวกับออกซิเจนอะตอมหนึ่งและสร้างพันธะคู่กับออกซิเจนอีกอะตอมหนึ่ง
ซึ่งหมายความว่า พันธะทั้งสองในโมเลกุลนี้มีความยาวไม่เท่ากัน แต่จากการศึกษาพบว่าความยาวพันธะระหว่างอะตอมออกซิเจนทั้งสองพันธะมีค่า
128
พิโกเมตรเท่ากัน
ซึ่งเป็นค่าความยาวพันธะระหว่างพันธะเดี่ยวกับพันธะคู่ของออกซิเจนกับออกซิเจน (ความยาวพันธะของ O-O และ O=O เท่ากับ
148 และ 121 พิโกเมตร ตามลำดับ) แสดงว่าพันธะทั้งสองในโมเลกุลเป็นพันธะชนิดเดียวกัน
ดังนั้นโครงสร้างแบบลิวอิส (ก) และ (ข)
แบบใดแบบหนึ่งที่แสดงไว้ตอนแรกใช้แทนโมเลกุล O3 ไม่ได้
จึงเขียนแทนด้วย โครงสร้างเรโซแนนซ์ (Resonance
structure)
ดังนี้
การที่พันธะระหว่างออกซิเจนกับออกซิเจนทั้ง
2
พันธะเหมือนกันนั้นเกิดจากการที่อิเล็กตรอน 1 คู่สร้างพันธะ โคเวเลนต์ตามปกติและอิเล็กตรอนอีก 1 คู่ จะเคลื่อนที่ไปมาระหว่างอะตอมทั้งสาม
และสามารถเขียนโครงสร้างโดยเขียนเส้นประแทนคู่อิเล็กตรอนที่เคลื่อนที่ไปมา
โครงสร้างเรโซแนนซ์อาจพบในโมเลกุลหรือไอออนชนิดอื่นๆดัง
ตังอย่างต่อไปนี้
NO3-