รูปร่างโมเลกุล
สามารถทำนายได้จากแบบจำลองการผลักระหว่างคู่อิเล็กตรอนที่อยู่ในวงเวเลนซ์ (Valence Shell
Electron Pair Repulsion Model : VSEPR) ซึ่งอิเล็กตรอนเหล่านี้จะเกี่ยวข้องกับการเกิดพันธะเคมีและมีการจัดตัวให้ห่างกันมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้เพื่อลดแรงผลักระหว่างคู่อิเล็กตรอน
โดยพิจารณาจากจำนวนอิเล็กตรอนรอบอะตอมกลางเฉพาะที่อยู่ในระดับพลังงานนอกสุด
โดยแบ่งเป็นโมเลกุลที่อะตอมกลางไม่มีอิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยวและโมเลกุลที่อะตอมกลางมีอิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยว
รูปร่างโมเลกุลโคเวเลนต์ขึ้นอยู่กับ ทิศทางของพันธะโคเวเลนต์, ความยาวพันธะและมุมระหว่างพันธะโคเวเลนต์รอบอะตอมกลาง
ทิศทางของพันธะขึ้นอยู่กับ
• แรงผลักระหว่างพันธะรอบอะตอมกลาง เพื่อให้ห่างกันมากที่สุด
• แรงผลักของอิเล็กตรอนคู่อิสระของอะตอมกลางที่มีต่อพันธะรอบอะตอมกลางแรงนี้มีค่ามากกว่าแรงที่พันธะผลักกันเอง.
9.1 โมเลกุลที่อะตอมกลางไม่มีอิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยว
พิจารณาโมเลกุลที่ประกอบไปด้วยอะตอม 2 ชนิด คือ A และB โดยกำหนดให้
· A เป็นอะตอมกลาง
· B เป็นอะตอมที่ล้อมรอบ
· โมเลกุลมีสูตรทั่วไปเป็น
ABx
ถ้าจำนวนอะตอมของ B ในสูตรทั่วไป ABx จะทำให้มีรูปร่างแตกต่างกัน ดังนี้
คลิ๊กที่รูปเพื่อดูขนาดใหญ่ |
1) รูปร่างเส้นตรง
(Linear) : AB2 เป็นรูปร่างของสารโคเวเลนต์ใด ๆ ที่มีอิเล็กตรอนคู่ร่วมพันธะ
2 คู่ รอบอะตอมกลาง
เพื่อให้แรงผลักระหว่างอิเล็กตรอนมีค่าน้อยที่สุด
แต่ละคู่จึงอยู่ที่ปลายด้านตรงข้ามของแนวเส้นตรงมีมุมระหว่างพันธะ180๐
2) รูปร่างสามเหลี่ยมแบนราบ
(Trigonal planar).: AB3.เป็นรูปร่างของสารโคเวเลนต์ใด
ๆ ที่อะตอมกลางมีเวเลนซ์อิเล็กตรอนเท่ากับ 3
และเป็นอิเล็กตรอนคู่ร่วมพันธะทั้งหมด (ไม่มีอิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยว)
พันธะผลักกันให้ห่างกันมากที่สุด ทำให้โมเลกุลเป็นรูปสามเหลี่ยมแบนราบ
มีมุมระหว่างพันธะเป็น 120๐
3) รูปร่างทรงสี่หน้า (Tetarhedarl) : AB4..เป็นรูปร่างของสารโคเวเลนต์ใด
ๆ ที่ อะตอมกลางมีเวเลนซ์อิเล็กตรอนเท่ากับ 4 และเป็นอิเล็กตรอนคู่ร่วมพันธะทั้งหมด
เกิดการผลักกันระหว่างพันธะเพื่อให้ห่างกันมากที่สุด ทำให้โมเลกุลมีรูปร่างเป็นรูปทรงสี่หน้า
มีมุมระหว่างพันธะเป็น 109.5๐
4) รูปร่างพีระมิดคู่ฐานสามเหลี่ยม
(Trigonal bipyramidal) : AB5
เป็นรูปร่างของสารโคเวเลนต์ใด ๆ
ที่อะตอมกลางมีเวเลนซ์อิเล็กตรอนเท่ากับ 5 และเป็นอิเล็กตรอนคู่ร่วมพันธะทั้งหมด
(ไม่มีอิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยว) เกิดการผลักกันระหว่างพันธะเพื่อให้ห่างกันมากที่สุด
ทำให้โมเลกุลมีรูปร่างเป็นรูป พีระมิดคู่ฐานสามเหลี่ยม มีมุมระหว่างพันธะเป็น
120๐ และ 90๐
5) ทรงแปดหน้า (Octahedral) : AB6
เป็นรูปร่างของสารโคเวเลนต์ใด ๆ ที่อะตอมกลางมีเวเลนซ์อิเล็กตรอนเท่ากับ 5 และเป็นอิเล็กตรอนคู่ร่วมพันธะทั้งหมด (ไม่มีอิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยว)
เกิดการผลักกันระหว่างพันธะเพื่อให้ห่างกันมากที่สุด ทำให้โมเลกุลมีรูปร่างเป็นรูปทรงแปดหน้า
มีมุมระหว่างพันธะ 90
9.2 โมเลกุลที่อะตอมกลางมีอิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยว
ตามปกติอิเล็กตรอนแต่ละคู่จะออกแรงผลักกัน แรงผลักของอิเล็กตรอนแต่ละคู่จะไม่เท่ากัน
ซึ่งสามารถเขียนแรงผลักระหว่างอิเล็กตรอนคู่ต่างๆ จากมากไปหาน้อยได้ดังนี้
กำหนดให้โมเลกุลมีสูตรทั่วไปเป็น ABxEy
·
A เป็นอะตอมกลาง
·
B เป็นอะตอมที่ล้อมรอบอะตอมกลาง
·
E แทนอิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยว
1) รูปร่างมุมงอ
(Bent) : AB2E เช่น โมเลกุล NO2-
เป็นรูปร่างที่อะตอมกลางมีอิเล็กตรอนคู่ร่วมพันธะ 3 คู่ และอิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยว 1 คู่
การจัดให้อิเล็กตรอนทั้งหมดอยู่ห่างกันมากที่สุดจะมีรูปคล้ายสามเหลี่ยมแบนราบ
แต่เนื่องจากมีอิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยวหนึ่งคู่ซึ่งมีแรงผลักมากกว่าแรงผลักระหว่างอิเล็กตรอนคู่ร่วมพันธะด้วยกัน
จึงผลักพันธะ N-O เข้าใกล้กันมุมระหว่างพันธะ O-N-O จึงน้อยกว่า 120˚ จากการทดลองพบว่ามุม O-N-O เท่ากับ 119.5˚
2) รูปร่างมุมงอ(Bent) : AB2E2 เช่น โมเลกุลของ
H2O เป็นรูปร่างที่อะตอมกลางมีเวเลนซ์อิเล็กตรอนเท่ากับ
6 สร้างพันธะเดี่ยวกับอะตอมของ H 2 พันธะ
จึงมีอิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยว 2 คู่ (4 อะตอม) ซึ่งอิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยว 2 คู่นี้
จะมีแรงผลักอิเล็กตรอนคู่ร่วมพันธะมากกว่าแรงผลักกันของอิเล็กตรอนคู่ร่วมพันธะ
ทำให้มุมระหว่างพันธะ H-O มีค่าลดลงเหลือ 105º
3) รูปร่างพีระมิดฐานสามเหลี่ยม
(Trigonal pyramidal) : AB2E
เช่น โมเลกุลของ NH3 เป็นรูปร่างที่อะตอมกลางมีเวเลนซ์อิเล็กตรอนเท่ากับ
5 สร้างพันธะเดี่ยวกับอะตอมของ H 3 พันธะ เหลืออิเล็กตรอนไม่ได้ร่วมพันธะ
1 คู่ (อิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยว) อิเล็กตรอนทั้ง
4 คู่รอบอะตอมกลาง (N) จะผลักกันให้ห่างกันมากที่สุด
แต่เนื่องจากแรงผลักระหว่างอิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยวกับอิเล็กตรอนคู่ร่วมพันธะ มีค่ามากกว่าแรงผลักระหว่างอิเล็กตรอนคู่ร่วมพันธะผลักกันเอง
จึงทำให้มุมระหว่างพันธะ H – N ลดลงเหลือ 107.3๐